Showing posts with label program. Show all posts
Showing posts with label program. Show all posts

Saturday, August 1, 2009

วิธีแก้ปัญหาเปิดไฟล์หนังไม่ได้

เปิดได้หมด!!! หนัง เพลง ดูได้แม้ไม่รู้จักไฟล์

ปัญหาน่าปวดหัวของหลายคนที่มักเจอ หลังจากที่ได้รับไฟล์มีเดียจากเพื่อน หรือไฟล์ที่ดาวน์โหลดมาเองจากอินเทอร์เน็ตคือ ไม่สามารถเปิดไฟล์ดังกล่าวเพื่อใช้งานได้ ปัญหานี้เกิดขึ้นค่อนข้างเยอะในยุคที่มีหลากหลายมาตรฐานของนามสกุลไฟล์เช่นปัจจุบัน
จริงๆ แล้วปัญหาประเด็นนี้เราสามารถแก้ไขได้ไม่ยาก เพียงแค่เราทราบว่าไฟล์นามสกุลดังกล่าวต้องเป็นไฟล์ประเภทไหน และใช้โปรแกรมอะไรเปิด หรือหากจะใช้ Windows Media Player จะต้องติดตั้งอะไรเพิ่มเสริมเข้าไปบ้าง
เรื่องนี้ฟังดูง่ายสำหรับบางคน แต่ก็เป็นเรื่องยาก (มาก) สำหรับอีกหลายคนเช่นกัน คอมพิวเตอร์.ทูเดย์ฉบับนี้จึงขอนำคุณสู่หนทางพ้นทุกข์ด้วยสารพัดโปรแกรมที่จะช่วยให้คุณเปิด (ไฟล์) ได้หมด แม้ตัวคุณจะไม่รู้จักไฟล์ดังกล่าวเลย
ประเภทไฟล์เรื่องที่คุณสงสัย


1.ไฟล์ AVI
สำหรับไฟล์ AVI ถ้าพูดไปแล้วหลายคนต้องรู้จักแน่ๆ เพราะเป็นไฟล์วิดีโอที่ดูผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งถูกพัฒนาจากไมโครซอฟท์ โดยภายในไฟล์ .avi มาพร้อมกับภาพ และเสียงพร้อมกัน มีความคมชัดของภาพ และเสียงที่สมจริง ส่วนใหญ่จะนำมาเป็นต้นฉบับของไฟล์วิดีโอบนแผ่นดีวีดี
ซึ่งไฟล์ AVI นี้มหลากหลายรูปแบบ ถึงแม้ว่า จะเห็นเป็นไฟล์ .avi ก็ตาม แต่จะแตกต่างกันตามรูปแบบของการ encode ของไฟล์นั้น ไม่ว่าจะเป็น DivX codec, XVID codec เป็นต้น หากเป็นไฟล์ avi ธรรมดาทั่วไปเราก็สามารถใช้โปรแกรม Windows Media Player เปิดดูได้ทันที แต่หากเปิดไม่ได้คงต้องหาโปรแกรมอื่น หรือไม่ก็ต้องไปดาวน์โหลดไฟล์ codec จากเว็บไซต์ของไมโครซอฟท์มาติดตั้งภายในเครื่องถึงจะเปิดได้
วิธีแก้ไขเบื้องต้น หากต้องการเปิดไฟล์ AVI ด้วยโปรแกรม Windows Media Player ก็คือ ให้ไปดาวน์โหลดตัว Codec จากเว็บไซต์ไมโครซอฟท์

(www.microsoft.com) จากนั้นก็ให้ดับเบิลคลิกไฟล์ดังกล่าวเพื่อติดตั้ง Codec เพิ่ม แต่ที่สำคัญโปรแกรม Windows Media Player ของคุณต้องเป็นเวอร์ชัน 11


2.ไฟล์ XVID
เกิดจากกลุ่มนักพัฒนาอิสระ ที่พัฒนารูปแบบการบีบอัดบนพื้นฐานของ mp4 เหมือนกับ DivX แต่ XviD เป็น Open Source คือ ได้เผยแพร่ให้มีการพัฒนาจากนักพัฒนาทั่วโลก เนื่องจากว่ามาตรฐานการบีบอีกของ XviD ใช้เป็นแบบ ASP (MPEG-4 Advanced Simple Profile) ไฟล์ XviD จึงสามารถเล่นบนโปรแกรมหรือเครื่องเล่น DVD ที่สามารถเล่นไฟล์ MP4 หรือ DivX ได้เช่นกัน ทั้งนี้ทั้งนั้น กรุณาตรวจสอบเครื่องเล่นของท่านตามเว็บไซต์ว่าเครื่องเล่นของท่านสนับสนุนไฟล์ XviD ด้วย หากท่านต้องการเล่นไฟล์ Xvid บนเครื่องคอมพิวเตอร์ท่านจะต้องติดตั้ง Xvid Decoder ซึ่งหาได้ตามเว็บไซต์ทั่วไปเช่นกัน


3.ไฟล์ DivX
จะมีนามสกุลเป็น .avi หรือ .divx แต่ไฟล์ .avi ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟล์ DivX เสมอไป ข้อแตกต่างอีกอย่างหนึ่งระหว่างไฟล์ DivX กับ avi ธรรมดาก็คือ ไฟล์ DivX สามารถเล่นพร้อมกับเลือกแสดง Subtitle ได้ หลายภาษา โดยปรับที่ Remote Control บนเครื่องเล่น dvd หรือ หากท่านใช้โปรแกรมเช่น Windows Media Player เล่นไฟล์ประเภทนี้ ท่านอาจจะต้องติดตั้งโปรแกรม แสดง subtitle เพิ่มเติม เช่นโปรแกรม Direct Vobsub เพื่อให้ subtitle ปรากฏไปพร้อมๆกับการรับชมภาพยนตร์ด้วย


4.ไฟล์ 3GP
ใครมีมือถือคงต้องรู้จัก 3gp แน่ๆ เพราะเป็นไฟล์วิดีโอที่สามารถเปิดดูได้จากโทรศัพท์มือถือทั่วไป ซึ่งไฟล์ประเภทนี้เป็นไฟล์วิดีโอที่มีขนาดเล็กกว่าไฟล์วิดีโอทั่วไป เพราะด้วยข้อจำกัดของการเปิดดูจำเป็นต้องดูจากโทรศัพท์มือถือเท่านั้น ทำให้ต้องถูกบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็ก และสิ่งที่ตามมาก็คือ เมื่อขนาดไฟล์เล็กแล้ว คุณภาพของภาพก็ต้องด้อยลง
แต่หากใครไปดาวน์โหลดไฟล์ 3gp จากอินเทอร์เน็ตแล้วจะมาเปิดดูในคอมพิวเตอร์ โปรแกรมดูหนังทั่วไปไม่สามารถเปิดได้ ต้องใช้โปรแกรม Nokia Multimedia Player หรือไม่ก็ต้องไปดาวน์โหลดโปรแกรมจากอินเทอร์เน็ตมาเปิดดู


5.ไฟล์ MKV
ไฟล์ประเภทนี้อาจจะไม่ค่อยคุ้นหูสักเท่าไร แต่ถ้าเป็นคนที่ท่องอินเทอร์เน็ตจริงๆ ต้องเคยเจอกันบ้าง ซึ่งไฟล์ประเภท MKV มีรูปแบบคล้ายๆ กับ MP4 หรือ AVI ที่สามารถบรรจุภาพ และเสียง พร้อม subtitle ให้อยู่ในไฟล์เดียวได้ ซึ่งคุณภาพของภาพและเสียงไม่แตกต่างกันเลย แต่สิ่งที่แตกต่างกันก็คือ MKV เป็นไฟล์แบบ Open Source ที่นักพัฒนาทั่วไปสามารถช่วยพัฒนาต่อยอดให้ไฟล์นี้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น


6.ไฟล์ FLV
หากใครชอบดูวิดีโอผ่านเว็บคงคุ้นเคยกันบ้าง เพราะเป็นไฟล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายบนเว็บไซต์ที่ให้บริการวิดีโอผ่านเว็บไซต์ ซึ่ง FLV คือไฟล์วิดีโอที่ถูกสร้างจากโปรแกรม Macromedia Flash เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก แต่คุณภาพดีกว่าไฟล์ 3gp สามารถเปิดดูได้จากโปรแกรม Flash Player หรือ QuickTime จากแอปเปิ้ลก็ได้ ทำให้หลายเว็บนิยมแปลงไฟล์ให้เป็น FLV เพื่อง่ายต่อการชมผ่านเว็บไซต์

KMPlayer 2.9.3.1428 Final

Type: ฟรีแวร์

Download: KMPlayer 2.9.3.1428 Final (ที่นี่)

Size: 13.5 เมกะไบต์

K-Multimedia Player คือโปรแกรมมัลติมีเดียสัญชาติเกาหลีที่กำลังมาแรงแบบฉุดไม่อยู่ในขณะนี้ (อักษร K ด้านหน้านั้นมีที่มาจากตัวย่อนามสกุลของผู้พัฒนา) ถูกสร้างขึ้นให้ทำงานกับระบบปฏิบัติการ Windows (ตั้งแต่เวอร์ชัน 2000/ XP ไปจนถึง Vista) ซึ่งเวอร์ชันแรกสุดของมันถูกพัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2001 ที่ผ่านมาโน่นแน่ะ

จุดเด่นที่น่าสนใจคือ สามารถเล่นไฟล์ Video และ Audio ได้ในตัวโดยไม่ต้องติดตั้ง CODEC เพิ่มเติม แถมยังรองรับการอ่านไฟล์ฟอร์แมตต่างๆ ได้มากมาย อาทิเช่น VCD, DVD, AVI, MKV, Ogg Theora, OGM, 3GP, MPEG-1/2/4, WMV, RealMedia, และ QuickTime ที่สำคัญมันรองรับการติดตั้ง CODEC เพิ่มเติมจากภายนอกได้โดยไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับโปรแกรมดั้งเดิม ยกตัวอย่างเช่น ดาวน์โหลด K-Lite CODEC มาติดตั้งในเครื่อง โปรแกรม KMPlayer ก็จะได้รับอานิสงส์ไปด้วยโดยปริยาย

นอกจากความสะดวกในการอัพเดต CODEC แล้วมันยังเป็นโปรแกรมที่เต็มไปด้วยความสามารถรอบด้าน คุณสามารถใช้มันในการทำ SS (สตอรี่บอร์ด หรือ Screenshot) จากไฟล์หนัง บันทึกวิดีโอเป็นไฟล์เสียง ดูข้อมูลและอ่านไฟล์มัลติมีเดียที่ยังดาวน์โหลดไม่เสร็จ (หรือเสียหาย) โดยเล่นเฉพาะส่วนที่สมบูรณ์ก่อนได้ (แบบเดียวกับในโปรแกรม VLC Media Player)

ระบบ Multi-Language สามารถเลือกใช้ภาษาบนโปรแกรมเมนูคำสั่งให้สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการอัตโนมัติ (สามารถปรับแต่งเองได้) ลงปลั๊กอินที่ซัพพอร์ตกับ WinAmp 2/5 เพื่อใช้งานร่วมกันได้ เพียงเลือกไดเรกทอรี่ติดตั้งไว้ในโฟลเดอร์หลักของโปรแกรม (เช่นติดตั้งไว้ที่ไดรฟ์ C: ก็จะเป็น C:\Program Files\The KMPlayer\PlugIns) และที่เด็ดไปกว่านั้นคือมีสกินสวยๆ ให้ดาวน์โหลดใช้งานอยู่เพียบและยังปรับแต่งโทนสีได้ตามความพอใจ แบบนี้ต้องดาวน์โหลดไปลองกันสักหน่อยแล้วจริงไหมครับ


KMP Control Taskbar

  • หากคุณต้องการให้โปรแกรมรันอินเทอร์เฟซควบคุมการทำงานบนทากส์บาร์ ต้องดาวน์โหลดโปรแกรม jwWinAmpRemocon ไปติดตั้งไว้เสียก่อน

  • Download jwWinAmpRemocon ที่นี่ (ขนาดไฟล์ 905 กิโลไบต์)
  • เลื่อนเมาส์ไปยังทาส์กบาร์ คลิกขวาเลือก Toolbars> WinAmp Remocon เท่านี้ก็เรียบร้อย

ซับไตเติลเล่นไม่ตรง Speed Mode แก้ได้

  • ปัญหาที่ปัจจุบันนี้พบไม่บ่อยนักก็คือเรื่องซับไตเติลที่ชอบโผล่มาไม่ถูกจังหวะ ทั้งเร็วไปบ้าง ดีเลย์ไปบ้าง หากเจอปัญหาแบบนี้คุณสามารถแก้ไขได้ ในระหว่างเล่นไฟล์วิดีโอที่มีปัญหาอยู่ ให้กดปุ่ม Alt+F เพื่อเปลี่ยนการเล่นเข้าสู่โหมด Super Speed Mode จะช่วยเพิ่มความไวในการอ่านโค้ดไฟล์ภาพให้เสถียรหรือไวมากขึ้น แต่หากไม่ได้ผลให้ลองกด Ctrl+Alt+F เพื่อปรับเป็น Highspeed Mode ก็น่าจะทำให้ปัญหาของคุณหมดไป (หากต้องการปิดโหมดให้กดปุ่มคีย์ลัดเดิมซ้ำอีกครั้งครับ)
  • การปรับเป็น Super Speed Mode และ Highspeed Mode จะทำให้ไม่สามารถแคปเจอร์ภาพหน้าจอได้และอาจทำให้คุณภาพเสียงมีปัญหา หากพบว่าเสียงที่ออกมาดูเบาลงหรือผิดปกติ ให้กดปุ่ม Shift+F2 เพื่อปิดการทำงานของ Automatic Volume Control
  • ไฟล์จำพวก .MKV อาจมีปัญหาการเล่นซับไตเติลดีเลย์ (ไม่ว่าจะเป็นซับแบบฝังหรือแยกต่างหาก) และแม้คุณจะติดตั้ง Haali renderer ไว้ในเครื่องแล้ว (อ่านวิธีการติดตั้งได้ใน http://www.kmplayer.com/forums/showthread.php?t=5264 ) แต่ก็ยังไม่ช่วยอะไร

กรณีนี้ปัญหาอาจไม่เกี่ยวกับซับไตเติลครับ ให้ลองเปิด Properties ของ Haali renderer แล้วเข้าไปปรับค่า frame numbers up ให้มีค่าลดน้อยลง (เหลือประมาณ 4) หรือกดคีย์ลัด Alt+V ในโปรแกรม KMPlayer เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการอ่านซับไตเติลเป็นแบบ draw to VMR/D3D surface

เปลี่ยนสกินให้โปรแกรม

  • สามารถดาวน์โหลดสกินเพิ่มเติมได้ที่
    http://www.kmplayer.com/forums/showthread.php?t=10 โดยนำมาไว้ในโฟลเดอร์ C:\Program Files\The KMPlayer\Skins แล้วคลิกขวาที่หน้าต่างโปรแกรม เลือกคำสั่ง “รูปแบบ” จากนั้นเลือกชื่อสกินที่เป็นนามสกุล .ksf จากในลิสต์เพื่อเปลี่ยนสกิน
  • อีกวิธีหนึ่งที่รวดเร็วกว่าคือคลิกลากไฟล์สกินนามสกุล .ksf มาวางไว้ที่หน้าต่างโปรแกรม เท่านี้สกินก็จะเปลี่ยนให้อัตโนมัติเลยครับ ง่ายจริงๆ

-----------------------------------------------------


Combined-Community-Codec-Pack

Type: ฟรีแวร์

Download:Combined-Community-Codec-Pack ที่นี่

Size: 5.92 เมกะไบต์

จะว่าไป Combined-Community-Codec-Pack ก็ไม่เชิงเป็นโปรแกรมเสียทีเดียว แต่เป็นการรวมโค้ดแพ็กและโปรแกรมมัลติมีเดียประเภทเดียวกับ K-Lite เข้าไว้ด้วยกัน โดยรวมเอา CoreWave Pack, FFDShow, FLV Splitter, Haali Media Splitter, MPV (MPEG2) Decoder, VS Filter และโปรแกรมเล่นไฟล์วิดีโอคุณภาพอย่าง Media Player Classic และ Zoom Player ยัดมาให้คุณเสร็จสรรพ แต่สามารถเลือกติดตั้งได้ตามต้องการในระหว่างลงโปรแกรม ส่วนฟอร์แมตหลักๆ ที่ซัพพอร์ตหลักๆ ก็มี .MKV (Matroska), AVI, OGM & OGG, MP4, TS และ FLV

สำหรับ Media Player Classic คิดว่าคุณผู้อ่านน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว ดังนั้นจึงอยากแนะนำในส่วนของโปรแกรม Zoom Player ที่รวมมาในแพ็กเสียมากกว่า เพราะนอกจากจะสวยงามไม่แพ้ KMPlayer แล้ว มันยังสามารถอ่านไฟล์มัลติมีเดียที่ถูกบีบอัดด้วยโปรแกรมจำพวก Zip หรือ WinRAR ได้เหมือนการเปิดไฟล์วิดีโอฟอร์แมตอื่นๆ ตามปกติและสามารถปรับแต่งคุณสมบัติการเล่นได้หลากหลายรูปแบบ

นอกจากนั้นมันยังมีคำสั่งช่วยค้นหาลิสต์รายชื่อฟอร์แมตในเครื่องที่ขาดหายไป พร้อมทั้งสืบค้นเพิ่มเติม (จากบนเว็บไซต์) เพื่อให้คุณเลือกดาวน์โหลดโค้ดและคอร์ที่จำเป็นสำหรับโปรแกรมมาติดตั้งได้แบบสบายๆ อีกต่างหาก ทั้งนี้ คุณสามารถดาวน์โหลดเวอร์ชันใหม่ รวมถึงสกินและสามารถติดตั้งปลั๊กอินเสริมเพื่อเล่นไฟล์ฟอร์แมตใหม่ๆ อย่างเช่น Monkey Audio (APE) ได้ที่ http://www.inmatrix.com/


สืบค้นฟอร์แมตที่ขาดหายด้วย Missing Formats

  • เปิดโปรแกรม Zoom Player ขึ้นมาโดยไปที่เมนู Start> All Programs> Combined Community Codec Pack> Players> Zoom Player
  • คลิกขวาที่หน้าต่างโปรแกรม เลือกเมนูคำสั่ง Options/ Setup คลิกเปิดดรอปดาวน์เมนูของ System เลือกซับเมนู Missing Formats หากเครื่องของคุณขาดโค้ดไฟล์ฟอร์แมตพื้นฐานตัวใดไป (หรือมีบางส่วนที่ขาดหาย) รายชื่อของมันจะถูกแสดงอยู่ในกรอบสีขาวด้านขวามือ คุณสามารถคลิกเลือกที่ชื่อฟอร์แมตจากในลิสต์เพื่อตรวจดูรายละเอียดจากฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ได้ทันที และหากต้องการให้โปรแกรมค้นหาและติดตั้งฟอร์แมตในลิสต์ดังกล่าวให้คลิกเลือกที่ปุ่มคำสั่ง Click here to run the Install Center
  • จะเห็นว่าในหน้าต่าง Install Center คุณสามารถเลือกติดตั้งหรือถอดถอนส่วนเสริมเหล่านี้ได้โดยตรงจากที่นี่เลย โดยเมื่อคลิกที่รายชื่อในลิสต์ตรงส่วนบนและล่างของหน้าต่างจะแสดงรายละเอียดพร้อมเวอร์ชันล่าสุดของมันที่ตรวจหาพบ หากต้องการติดตั้งตัวไหนลงไปให้ติ๊กถูกด้านหน้าลิสต์และกดปุ่ม Install Selected แล้วรอดาวน์โหลด-ติดตั้งจนเสร็จก็เรียบร้อยแล้วครับ

---------------------------------------------------------------


Blaze Media Pro

Type: แชร์แวร์ 15 วัน

Download: Blaze Media Pro ที่นี่

Size: 15.6 เมกะไบต์

คนที่ไม่ค่อยชอบติดตั้งโปรแกรมหลายๆ ตัวให้รกเครื่อง น่าจะถูกใจเจ้า Blaze Media Pro เป็นพิเศษ ด้วยความสามารถระดับ All in 1 ขนานแท้ คุณจะต้องการอะไรอีก ในเมื่อมันมีความสามารถในการทำธุรกรรมกับไฟล์มัลติมีเดียแบบครบวงจรแนบมากับตัว

ไม่ว่าจะเป็นการแปลงไฟล์ ตัดต่อ เข้ารหัส ขยับบิทเรต ปรับแต่งข้อมูล จัดการระบบมัลติมีเดีย หาเนื้อเพลง แก้ไขออดิโอแท็ค เขียนแผ่นซีดี/ ดีวีดี หรือแม้กระทั่งริปหนังริปเพลง พร้อมรองรับไฟล์ฟอร์แมตยอดนิยมอย่างครบครัน ได้แก่ MP3, MP2, OGG Vorbis (OGG), ASF, MPEG Video (MPG, MPEG, MPE), AVI, WMA, WMV, Vivo Digital Video (VIV),MOV, QT, WAV, CDA, DAT, ASX, WAX, M3U, WVX, MIDI, AIFF, AU, SND ฯลฯ

ตัดต่อเพลงด้วย Audio Editor

  • เลือกคำสั่ง Edit Audio ตรงแถบเมนูด้านขวาของหน้าต่างโปรแกรม
  • ไปที่เมนู File> Open เลือกไฟล์เพลงที่ต้องการตัดต่อ จากนั้นไปที่เมนู Command> Play เพื่อสั่งเล่น ระหว่างนี้สามารถคลิกเมาส์ไปยังช่องคลื่นเสียงทั้ง 2 แถบตรงกลางหน้าจอเพื่อเลือกช่วงที่คุณต้องการเริ่มต้นตัดต่อ จะเห็นว่าจุดที่คลิกเมาส์ลงไปจะมีแถบสีเหลืองขึ้นมามาส์กจุดให้เห็น เมื่อเลือกจุดเริ่มได้แล้วให้เลื่อนเมาส์มาตรงกึ่งกลางช่องเสียง คลิกเมาส์ซ้ายค้างลากคลุมช่วงเสียงที่ต้องการตัดออกมาไว้ สังเกตดูจะพบว่าช่วงที่เลือกไว้จะถูกทำไฮไลต์สีให้เห็นดังในภาพ
  • เมื่อไฮไลต์จุดที่ต้องการแล้วกดปุ่ม Ctrl+C เพื่อก๊อบปี้ ไปที่เมนู File> New จากนั้นกด Ctrl+V เพื่อสั่งวางช่วงเสียงที่ก๊อบปี้ไว้มาวางลงไป เสร็จแล้วทดลองเล่นดู หากต้องการใส่เอฟเฟ็กต์ให้กับไฟล์เสียงใหม่นี้อย่างเช่น Fade Out (ทำให้เสียงค่อยๆ เบาลงจนหายไป) สามารถทำได้โดยลากเมาส์คลุมทำไฮไลต์ในส่วนที่ต้องการแล้วเลือกเอฟเฟ็กต์เหล่านี้ได้จากแถบไอคอนแถวที่สองดังในภาพตัวอย่าง เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้วจัดการเซฟไฟล์ไว้โดยไปที่เมนู File> Save As

*** โปรแกรมนี้สามารถปรับเปลี่ยนสกินได้ โดยสามารถดาวน์โหลดสกินสวยๆ ได้ที่ http://www.blazemp.com/skindownloads.html เมื่อดาวน์โหลดมาแล้วให้เปิดโปรแกรม ไปที่เมนู Option> General ที่หัวข้อ Skin File กดปุ่ม Browse… เลือกไฟล์สกินที่คุณดาวน์โหลดมา เสร็จแล้วกดปุ่ม OK ปิดและเปิดโปรแกรมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

------------------------------------------------------------------


MpcStar 2.2

Type: ฟรีแวร์

Download: MpcStar 2.2 ที่นี่

Size: 23.7 เมกะไบต์

โปรแกรมดีๆ อีกตัวสำหรับคนชอบดาวน์โหลดไฟล์วิดีโอจากอินเทอร์เน็ต ด้วยความที่มันเป็นโปรแกรมฟรีที่รวมเอาโอเพ่นซอร์ตอย่าง FFDshow Codec Pack, QuickTime Codecs, a.k.a. VSFilter, RealPlayer Codecs & ActiveX controls และ Media Player Classic เอาไว้ ทำให้มั่นใจได้ว่ามันสามารถเล่นไฟล์วิดีโอได้ทุกชนิด

นอกจากจะไม่มีสปายแวร์ แอดแวร์ แถมมาให้แล้ว มันยังช่วยบล็อก Pop-Up น่ารำคาญที่อาจแถมมากับไฟล์วิดีโอบางประเภทให้อัตโนมัติอีกด้วย ของดีๆ แถมฟรีแบบนี้น่าจะเป็นโปรแกรมทางเลือกสำรองอีกตัวที่น่าพกติดไว้ที่เครื่องนะครับ

-------------------------------------------------------

ImToo แปลงไฟล์ครอบจักรวาล

ชื่อโปรแกรม : ImToo MPEG Encoder 3.140

DOWNLOAD : ImToo MPEG Encoder 3.140 ที่นี่

ประเภทโปรแกรม : มีทั้งฟรีแวร์ และแชร์แวร์

ระบบปฏิบัติการ : Windows 98/ME/NT4/2000/2003/XP and Windows Vista

หลังจากได้เรียนรู้ถึงประเภทไฟล์ต่างๆ แล้ว รวมไปถึงโปรแกรมที่ใช้เปิดไฟล์แต่ละประเภทแล้ว หลายคนคงเกิดคำถามว่า เอ แล้วถ้าเกิดอยากแปลงไฟล์เหล่านั้นให้เป็นรูปแบบไฟล์ที่นำไปใช้งานได้ง่าย และเหมาะกับประเภทงานที่จะใช้ต้องทำอย่างไร ผมก็มีโปรแกรมมาแนะนำ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สามารถแปลงไฟล์มัลติมีเดียได้ครอบคลุมเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นไฟล์วิดีโอ หรือเสียงก็สามารถแปลงได้ นั่นก็คือ ImToo MPEG Encoder

ประเภทไฟล์ต้นฉบับที่รองรับ

3GPP Files (*.3gp) Animated GIF Files (*.gif) AVI Files (*.avi) DV Video Files (*.dv;*.dif) QuickTime Files (*.mov;*.qt) Macromedia Flash Files (*.swf) MP2 Files (*.mp2) Mp3 Files (*.mp3) Ogg Vorbis Files (*.ogg) AAC Files (*.aac) MPEG-4 Audio Files (*.m4a;*.mp4) MPEG-4 Files (*.mp4) Real Media Files (*.rm;*.ra;*.ram;*.rmvb) Windows Media Files (*.wma;*.wmv;*.asf) MPEG Files (*.mpg;*.mpeg;*.mpa;*.dat;*.vob) WAV Files (*.wav;*.au;*.aiff) CD Audio (*.cda)

ประเภทของไฟล์ผลลัพธ์ที่สามารถแปลงได้จากโปรแกรมนี้

MP4 - MPEG-4 Video (*.mp4) 3GPP - 3rd Generation Partnership Project (*.3gp) AVI - Audio-Video Interleaved (*.avi) DivX Movie (*.avi) DVD (*.vob) FLV - Flash Video Format (*.flv) iPhone MPEG-4 (*.mp4); MOV - QuickTime (*.mov) MP3 - MPEG Layer-3 Audio (*.mp3) MPEG-2 Movie (*.mpg) OGG - Ogg Vorbis Audio (*.ogg) RM - RealVideo (*.rm) Super VideoCD (*.mpg) SWF - SWF Format (*.swf) Video CD (*.mpg) VOB - MPEG2 PS Format (*.vob) WMA - Windows Media Audio (*.wma) WMV - Windows Media Video (*.wmv) XviD Movie (*.avi)

ขั้นตอนการแปลงไฟล์แบบง่ายๆ

1. หลังจากที่ดาวน์โหลดโปรแกรม และติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ให้เปิดโปรแกรมขึ้นมา แล้วกดปุ่ม ADD ทางด้านบนซ้ายมือของโปรแกรม เพื่อเลือกไฟล์วิดีโอที่ต้องการแปลง ซึ่งเราสามารถเลือกให้แปลงครั้งละ กี่ไฟล์ก็ได้

2. เมื่อเลือกไฟล์เรียบร้อยแล้ว เราต้องเลือกว่า จะแปลงไฟล์ให้เป็นแบบไหน โดยคลิกเลือก Profile ทางด้านของโปรแกรม (ต้องคลิกที่ไฟล์นั้นให้เป็นแถบสีน้ำเงินก่อนเลือก Profile นะครับ)

3. ต่อมาก็เลือกว่า จะบันทึกไฟล์ที่แปลงเสร็จแล้วไปเก็บไว้ที่ไหน ให้คลิกปุ่ม Browse ที่อยู่ในส่วนของ Destination ทางด้านล่างของโปรแกรม

4. สุดท้ายให้กดปุ่ม Encode ที่อยู่ทางด้านบนของโปรแกรม แล้วรอเวลา เพียงเท่านี้เราก็สามารถแปลงไฟล์วิดีโอให้อยู่ในรูปแบบที่เราต้องการแล้ว

เพียงเท่านี้เราก็สามารถเปิดไฟล์วิดีโอแปลกๆ ที่เราไม่สามารถเปิดได้ด้วยโปรแกรมทั่วไป และยังสามารถแปลงไฟล์วิดีโอนั้นให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ที่เราต้องการ และนำไปใช้งานได้ ไว้คราวหน้าคอยพบกับโปรแกรม และเทคนิคการใช้คอมพิวเตอร์กันต่อนะครับ

=============By Getzaa=============

วิธีแก้คอมช้า Speed up by Disable

Speed up by Disable เร่งเครื่องให้เต็มที่ ด้วยวิธีพอเพียง

ปัญหาเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้านั้นผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่หลายๆ คนต้องเคยเจออย่างแน่นอน หรืออาจจะกำลังเจอกันอยู่ หลังจากที่เพิ่งฟอร์แมตเครื่องไปเมื่อปีใหม่ที่ผ่านมาแค่เดือนเดียวเท่านั้นเอง ปัญหานี้ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการวินโดวส์ซะด้วย นั่นเพราะว่าวินโดวส์ไม่ดีหรือว่าเราไม่ไม่เข้าใจมันกันแน่นะ?

ความอืดที่แลกมาเพื่อความสะดวก

จริงๆ แล้วระบบปฏิบัติการทุกตัวก็คงไม่ได้แตกต่างกันมากในเรื่องของประสิทธิภาพหรอกครับ เพราะมันก็เป็นซอฟต์แวร์เหมือนๆ กัน มันขึ้นอยู่กับว่าซอฟต์แวร์นั้นถูกพัฒนาขึ้นมาอย่างไร และให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลอะไรบ้างเท่านั้นเอง และระบบปฏิบัติการวินโดวส์ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในเรื่องของประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับระบบปฏิบัติการตัวอื่นๆ

ถ้าลองไปถามใครต่อใครว่าระบบปฏิบัติการตัวไหนที่เร็วที่สุด คงไม่มีใครพูดถึงวินโดวส์จริงไหมครับ แล้วถ้าพูดถึงระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่ายและสะดวกที่สุดล่ะ แน่นอนส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นวินโดวส์นั่นเอง ดังนั้นจากจุดนี้เองวินโดวส์ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานได้สะดวกจึงทำให้มันมีการทำงานที่ค่อนข้างซับซ้อนและมีการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมให้รองรับการใช้งานด้านต่างๆ กับผู้ใช้ไว้เสมอ ซึ่งบางครั้งก็ต้องยอมรับล่ะครับ ว่าเราก็ไม่ได้ใช้

คุณเคยสังเกตกันบ้างหรือไม่ครับว่าระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่คุณใช้อยู่นั้นสามารถทำงานได้ดีมาก จะทำโน่น ทำนี่ก็สามารถทำได้ทุกอย่าง ง่ายไปหมด จะติดตั้งโปรแกรม หรือจะใช้งานอุปกรณ์อะไรก็สามารถรองรับได้หมด แล้วคุณคิดว่าความสามารถทั้งหมดจะต้องการโค้ดหรือชุดคำสั่งที่มีความสลับซับซ้อนมากเพียงใด และโค้ดคำสั่งเหล่านี้จะต้องใช้การประมวลผลจากซีพียูแค่ไหน

Service ต่างๆ ในวินโดวส์

จริงอยู่ว่าคุณอาจจะไม่ได้ใช้งานฟังก์ชันทั้งหมดที่มันใส่มาในระบบ แต่ว่าของอย่างนี้ก็เลือกไม่ได้หรอกครับ คนที่พัฒนาซอฟต์แวร์ก็ต้องออกแบบให้มีความสมดุลและเอื้ออำนวยให้กับผู้ใช้ทุกๆ กลุ่ม นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ภายในเครื่องของเรามีฟังก์ชันการทำงานที่ถูกเปิดทิ้งไว้มากมาย โดยที่เราแทบจะไม่เคยได้ใช้ หรือไม่เคยรู้เลยด้วยซ้ำว่ามีมันอยู่ในระบบด้วย

Service ต่างๆ ที่รันอยู่ในวินโดวส์ ลองเลื่อนแถมลงมาดูน่าจะนับได้ราวๆ ครึ่งร้อย

Service ถือว่าเป็นรูปแบบการทำงานของโปรแกรมภายในวินโดวส์อย่างหนึ่ง โปรแกรมที่อยู่ในกลุ่ม Service นี้จะคอยทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้ใช้ในด้านที่มันรับผิดชอบ โดยจะคอยทำงานอยู่เบื้องหลัง จะว่าไปก็เหมือนกับโปรแกรมที่ทำงานในลักษณะ Background นั่นเอง แล้วคุณลองคิดถึงซิครับว่าถ้ามี Service ทำงานอยู่ประมาณ 30 ตัว เครื่องจะช้าลงขนาดไหน ทั้งๆ ที่คุณอาจจะได้ใช้งานมันไม่ถึง 10 ตัวเลยด้วยซ้ำไป

เปิดใช้ Service ให้พอเพียง อย่างเพียงพอ

สมัยนี้เป็นยุคพอเพียงครับ ดังนั้นเราจึงควรจะต้องปิด Service ที่ไม่จำเป็นทิ้ง เพื่อให้คอมพิวเตอร์เอาเวลาที่ต้องไปประมวลผล Service เหล่านี้มาประมวลผลงานที่เราทำจะดีกว่า มาถึงนี้เราจะเข้าไปปิด Service ได้อย่างไร แล้วจะรู้ได้ยังไงว่าตัวไหนใช้บ้าง ไม่ใช้บ้าง เราจะไปดูพร้อมๆ กันเลยครับ

วิธีในการเข้าไปจัดการกับ Service

สำหรับ Service ในวินโดวส์นั้น คุณสามารถที่จะเข้าไปจัดการมันได้โดยมีวิธีการคือไปที่ปุ่ม Start แล้วเลือกคำสั่ง Run จากนั้นพิมพ์ service.msc ลงไปแล้วกดปุ่ม OK หน้าต่าง Service ก็จะรันขึ้นมาครับ โดยในนั้นจะมี Service มากมายในคุณได้ปรับการทำงาน (Startup Type) โดยจะแบ่งรูปแบบการตั้งค่าดังนี้

  • Automatic ให้เริ่มทำงานโดยอัตโนมัติทุกครั้งที่คุณเปิดเครื่องและบูตเข้าสู่วินโดวส์
  • Manual ไม่ให้เริ่มทำงานเอง แต่จะสามารถสั่งให้หยุดหรือเริ่มการทำงานได้โดยผู้ใช้เอง หรือโปรแกรมบางตัว
  • Disable เป็นการปิดการทำงานของ Service ไม่ให้เริ่มการทำงาน

โหมด Startup ของ Service มีอยู่ด้วยกันหลัก 3 แบบแล้วแต่รูปแบบการใช้งาน

Service ไหนปิดได้บ้าง

เนื่องจาก Service ของระบบวินโดวส์มีอยู่มากมาย บางตัวเป็น Service ของโปรแกรมต่างๆ ที่เราติดตั้งไว้ และบางตัวก็เป็น Service ของระบบเอง ดังนั้นจึงต้องทราบก่อนว่า Service ไหนเป็นของอะไรและจะต้องใช้งานหรือไม่ จึงค่อยตัดสินใจปิดนะครับ เราไปดูกันเลยดีกว่ามี Service อะไรบ้างที่น่าจะปิดกันได้

ใช้คำสั่ง Run แล้วพิมพ์ service.msc เพื่อเข้าสู่หน้าจอ Service

หน้าจอ Service จะมีรายชื่อของ Service ในเครื่องคุณมากมาย

ดับเบิลคลิกที่ชื่อ Service เพื่อตั้งค่าเกี่ยวกับ Service นั้น

คุณสามารถคลิกขวา แล้วสามารถเลือก Start และ Stop เพื่อเริ่มและหยุดการทำงานของ Serviceได้ทันที

  • AdobeLM Service: เป็น Service ของ Adobe ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไรครับ ถ้าใครมีตัวนี้อยู่ก็ปิดได้เลย
  • Alerter: ตัวนี้ถ้าคุณไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายก็สามารถปิดได้เลย
  • Application Management: สำหรับตัวนี้ไม่แนะนำให้ปิดครับ แต่ให้เปลี่ยนเป็น Manual แทน
  • Automatic Updates: Service สำหรับ Windows Update ครับ ไม่ควรปิด นอกเสียจากว่าคุณจะใช้วิธีการอัพเดตแบบ Offline อย่างโปรแกรม AutoPatcher แทนครับ
  • ClipBook: เป็นตัวสำหรับแชร์บางอย่างบนเครือข่าย ส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้อยู่แล้ว ปิดซะ
  • Computer Browser: ปิดอีกตัวถ้าไม่ได้ต่อกับเครือข่ายเหมือนกัน เพราะมันไว้สำหรับเข้าไปดึงไฟล์จากเครื่องอื่น
  • Cryptographic Services: ตัวนี้เป็นการเข้ารหัส ถ้าไม่แน่ใจว่าจำเป็นไหมก็ตั้งไว้เป็น Manual ครับ
  • Distributed Transaction Service: ตั้งค่าไว้เป็น Manual
  • DNS Client: ตัวนี้เปลี่ยนเป็น Manual ไปก็ได้ครับถ้าไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย
  • Error Reporting Service: เวลามีโปรแกรมแฮงก์แล้วให้กดปุ่ม Don’t Sent ก็เพราะเจ้า Service ตัวนี้แหละครับ ดังนั้นปิดมันไปเลย
  • Fast User Switching Compatibility: สำหรับเครื่องที่มีแรมน้อยปิดไปเลยดีกว่าครับ เพราะ Fast User Switching มีไว้สำหรับการสลับการทำงานของ User โดยไม่ต้อง Logout ก่อน ถ้าคุณมีหรือใช้แค่ User เดียวอยู่แล้วก็ปิดไปเลยครับ
  • FTP Publishing: ถ้าไม่ได้ใช้ FTP ก็ปิดได้เลยครับ
  • Help and Support: ถ้าคุณไม่เคยใช้ Help ของ Windows เลย (ซึ่งส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ใช้) ปิดไปเลยดีกว่าครับ
  • HTTP SSL: ตั้งไว้เป็น Manual ครับ เผื่อต้องใช้เวลาเข้าเว็บที่มี Secure Login อย่างเว็บ E-Banking
  • Human Interface Device Access: ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Hot-key หรือ remote system ก็ปิดไปก็ได้ครับ
  • IMAPI CD-Burning COM Service: Service สำหรับคนที่ใช้ไดรฟ์เขียนแผ่น CD/DVD ไม่ควรปิด แต่ตั้งไว้เป็น Manual จะดีกว่า เพื่อประหยัดเมมโมรี
  • Indexing Service: ตัวนี้เป็น Service ที่กินทรัพยากรสูงมาก สำหรับทำ Index ในการค้นหาข้อมูลในเครื่อง ดังนั้นถ้าคุณไม่ได้ใช้ฟังก์ชันค้นหาของวินโดวส์เลย ก็ปิดมันไปได้เลย เครื่องจะเร็วขึ้นอีกเยอะ
  • InstallDriver Table Manager: ตัวนี้ปิดไปได้เลยเหมือนกันครับ ไม่ส่งผลต่อการทำงาน
  • IPSEC Services: ตั้งไว้เป็น Manual ดีกว่า
  • Windows Messenger: ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Windows Messenger (ไม่ใช่ MSN Messenger หรือ Windows Live Messenger นะครับ) ก็รีบปิดไปเลยครับ เพราะมันกินแรมเยอะมาก
  • MS Software Shadow Copy Provider: อันนี้ตั้งค่าให้เป็น Manual ครับ
  • Net Logon: อันนี้เปิดได้เลยครับถ้าไม่ได้เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
  • NetMeeting Remote Desktop Sharing: สำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ Remote Desktop อยู่แล้วก็ปิด Service นี้ไปได้เลยครับ
  • Network Provisioning Service: ถ้าไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่ายก็ปิดอีกเหมือนกัน
  • NT LM Security Support Provider: ปิดไปได้อีก 1 ตัวเลยครับ
  • NVIDIA Display Driver Service: สำหรับคนใช้การ์ดจอ nVidia แล้วไม่ได้เปิดใช้ nVidia Desktop ก็ปิดดีกว่าครับ
  • Office Source Engine: ตัวนี้ปิดไปได้อีกเหมือนกัน ใช้ในกรณีที่ MS Office ของคุณมีปัญหาแล้วต้องการซ่อมแซมไฟล์ระบบ ซึ่งคุณสามารถใช้แผ่น CD ติดตั้งที่มีอยู่มาแทนได้อยู่แล้ว
  • Portable Media Serial Number Service: ตัวนี้ตั้งไว้เป็น Manual ครับเพราะเราน่าจะใช้สื่อแบบพกพากันบ่อยอยู่แล้ว
  • Print Spooler: ถ้าคุณไม่ได้มีพรินเตอร์ก็ปิดไปได้อีกแล้ว
  • Protected Storage: ปิดไปเลยครับ ถ้าคุณไม่ได้ให้คนแปลกหน้ามานั่งเครื่องคุณอยู่แล้ว
  • Remote Desktop Help Session Manager: เป็นอีกหนึ่งตัวที่ถ้าคุณไม่ได้ใช้ Remote Desktop ก็ปิดไปจะดีกว่า
  • Remote Procedure Call Locator: อันนี้ให้ตั้งไว้เป็น Manual ครับ
  • Remote Registry: รีบปิดไปเลยครับ Service นี้ ถ้าเปิดไว้อาจจะเป็นภัยในภายหลังได้
  • Removable Storage: ตัวนี้ไม่ควรปิดครับเพราะเราใช้พวกแฟลชไดรฟ์อยู่แล้ว อย่างดีก็แค่ตั้งไว้เป็น Manual ครับ
  • Routing and Remote Access: อันนี้ให้ตั้งเป็น Manual ครับ
  • Secondary Logon: ไม่ค่อยมีประโยชน์ครับ ปิดไปได้เลย หรือถ้าไม่แน่ใจก็ปรับเป็น Manual
  • Security Accounts Manager: ปิดไปเลยก็ได้ครับไม่ได้ใช้อยู่แล้วนอกจากจะใช้การเข้ารหัสบน NTFS
  • Security Center: อันนี้ก็ปิดไปด้วยก็ได้ครับ กินทรัพยากรเครื่องไปเปล่าๆ
  • Server: ถ้าคุณไม่ได้ต่อกับเครือข่ายก็ปิดไปอีกตัวหนึ่งครับ
  • Smart Card: ไม่มีค่อยมีใครใช้ Smart Card กับเครื่องที่บ้านใช่ไหมครับ ดังนั้นปิดไปเถอะ
  • SSDP Discovery Service: ใช้สำหรับรองรับอุปกรณ์เครือข่ายแบบ UPnP ดังนั้นไม่มีก็ปิดครับ
  • Task Scheduler: ถ้าคุณไม่ได้ตั้งการทำงานอะไรไว้ที่ Task Scheduler อย่างสแกนดิสก์ หรือจัดเรียงข้อมูลก็ปิดครับ
  • TCP/IP NetBIOS Helper: ตั้งไว้เป็น Manual ครับตัวนี้
  • Telnet: ถ้าคุณเป็นผู้ใช้ตามบ้าน Telnet คงไม่ใช้ ดังนั้นปิดครับ แต่ถ้าคุณชอบซนหน่อยอาจจะตั้งเป็น Manual ก็ได้
  • Terminal Services: ถ้าคุณไม่ใช้ Remote Desktop ก็ปิดไปอีกเหมือนกัน
  • Uninterrupted Power Supply: ปิดไปได้เลยครับถ้าคุณไม่ได้ต่อ UPS เข้ากับคอมพิวเตอร์ผ่าน COM Port
  • Universal Plug and Play Device Host: อันนี้ปิดไม่ได้ครับ แต่ตั้งให้เป็น Manual ได้
  • User Privilege Service: อันนี้ให้ตั้งเป็น Manual ครับ
  • Volume Shadow Copy: ปิดไปได้เลยครับถ้าคุณไม่ได้ใช้ System Restore ของวินโดวส์
  • Windows Firewall/Internet Connection Sharing (ICS): อันนี้จะเปิดไว้ก็ได้ครับ แต่ถ้าคุณมีซอฟต์แวร์ไฟร์วอลล์อยู่แล้วมันจะซ้ำซ้อนกันเล็กน้อย ดังนั้นปิดดีกว่า (ถ้าคุณมีซอฟต์แวร์ไฟร์วอลล์นะ)
  • Windows Image Acquisition (WIA): ใช้สำหรับดึงภาพออกจากกล้องดิจิตอลและสแกนเนอร์ ปิดถ้าไม่ได้ใช้
  • Windows Media Connect: ถ้าคุณไม่ได้มีเครื่องเล่น MP3 ที่รองรับการ Sync ข้อมูลกับ WMP ได้ก็ปิดไปได้เลยครับ
  • Windows Media Connect (WMC) Helper: ปิดตัวนี้ด้วยครับ มันสัมพันธ์กับตัวข้างบน
  • Windows Time: ถ้าไม่ได้ใช้ระบบตั้งเวลากับ Server ก็ไม่ต้องใช้ครับ
  • Wireless Zero Configuration: ปิดไปถ้าไม่ได้ใช้เครือข่ายไร้สาย
  • WMI Performance Adapters: อันนี้ก็ปิดได้ครับ สำหรับการใช้งานทั่วไป
  • Workstation: ปิด Service อันนี้ด้วยครับถ้าคุณไม่ได้เชื่อมต่อกับเครือข่าย

ข้อควรระวัง

การแก้ไขการตั้งค่า Service ถือว่าเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงครับ ถ้าคุณปิด Service ที่สำคัญกับระบบอาจจะทำให้การทำงานบางอย่างไม่สามารถทำงานได้หรือส่งผลเสียหายต่อระบบ ดังนั้นควรอ่านรายละเอียดของ Service แต่ละตัวให้ดีเสียก่อน และถ้าไม่แน่ใจจริงๆ ก็อย่างไปปรับมัน หรือปรับเป็น Manual แทนที่ปิด เพื่อลดความเสี่ยงลง

แต่ละ Service จะมีคำอธิบายอยู่ข้างๆ ด้วย ก่อนปรับแต่ควรทำความเข้าใจว่า Service นั้นทำหน้าที่อะไร และจำเป็นต้องใช้หรือไม่

สรุป

จะเห็นได้ว่ามี Service ที่บางครั้งเราไม่ได้ใช้งานเลย หรือนานๆ ใช้ทีอยู่มากมายในเครื่องเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้สิ้นเปลืองทรัพยากรของเครื่องไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยเฉพาะคนที่ใช้คอมพิวเตอร์โดยไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายจะเห็นว่ามี Service ที่ไม่ได้ใช้อยู่เป็นจำนวนมากเลย

ก็ถือว่าเป็นทางเลือกอีกหนึ่งทางสำหรับคนที่ต้องการเพิ่มความเร็วให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่ามันอาจจะมีประโยชน์มากๆ แต่นั่นก็หมายความว่าคุณจะต้องเสียความสามารถบางอย่างของวินโดวส์ไปด้วยในปิดแต่ละ Service หรือว่าถ้าตั้งเป็น Manual พอมีการใช้งานทีหนึ่งก็ต้องเสียเวลามารัน Service อีกอยู่ดี ดังนั้นได้อย่างก็ต้องเสียอย่างครับ แต่สำหรับคนที่รู้อยู่แล้วว่าตัวเองต้องใช้งานอะไรบ้างก็สามารถปิดส่วนที่ตนเองไม่ใช้งานจริงๆ และปรับเป็น Manual ในส่วนที่ใช้งานนานๆ ทีได้ เพียงแค่นี้ก็น่าจะเพิ่มความเร็วให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อีกไม่มากก็น้อยล่ะครับ

ที่มาข้อมูล http://www.masternewmedia.org/

****************************************************

10 โปรแกรมสามัญประจำ NetBook.

6. 7-Zip

7-Zip โปรแกรมโคตรซิป คู่แข่ง WinRAR และ WinZIp ที่คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อ เพราะเป็นฟรีแวร์ที่แจกให้ใช้งานกันฟรีๆ จุดเด่นของ 7-Zip ก็คือ มันสามารถเปิดไฟล์ซิปได้ทุกประเภทไม่ว่าจะเป็น 7z, ZIP, GZIP, BZIP2, TAR, RAR, CAB, ISO, ARJ, LZH, CHM, MSI, WIM, Z, CPIO, RPM, DEB แ ละ NSIS ในเว็บไซต์ผู้ผลิตระบุคุณสมบัติของโปรแกรมตัวนี้ว่าสามารถบีบอัดไฟล์โดยมีอัตราส่วนที่มากกว่าทั้ง WinZIp และ WinRAR อยู่พอสมควร อันนี้ต้องไปลองใช้กันเองครับถึงจะรู้ว่าสมราคาคุยหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีขาดไฟล์ติดตั้งที่ไม่ใหญ่ด้วย ใช้ทรัพยากรเครื่องน้อยเวลาทำงาน จึงเหมาะกับการนำมาใช้บนโน้ตบุ๊กจิ๋วอย่าง Netbook ได้สบาย

สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดฟรีแวร์ตัวนี้ได้ที่ http://www.7-zip.org/

7. JkDefrag Portable

เมื่อถึงเวลาที่คุณต้องจัดเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หรือ SSD Drive บนเครื่อง Netbook นั้น การใช้โปรแกรม Defrag ที่อยู่บนวินโดวส์ หรือโปรแกรม Defrag อื่นๆ ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อระบบพอร์ตเทเบิล เครื่องจะอยู่ในสภาวะโหลด และแทบจะใช้งานอะไรไม่ได้เลยในระหว่างที่มีการจัดเรียงข้อมูล สำหรับ JkDefrag Portable เป็นโปรแกรมจัดเรียงข้อมูลรวมถึงซ่อมแซมโครงสร้างไฟล์ระบบที่เสียหายได้อีกด้วย ตัวโปรแกรมมีขนาดเล็กไม่ถึง 1MB แต่ก็มีระบบกราฟิกเอาไว้ติดต่อกับผู้ใช้ สนับสนุนการใช้งานกับฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่ และรองรับไฟล์ขนาดใหญ่ของแพลตฟอร์ม 64-บิต ด้วยเช่นกัน คุณสามารถเซฟโปรแกรม JKDefrag ใส่แฟลชไดรฟ์ เครื่องเล่น iPod แผ่นซีดี หรือสื่อเก็บข้อมูลอื่นๆ แล้วนำไปใช้งานได้กับทุกเครื่อง ทั้งพีซี โน้ตบุ๊ก และ Netbook

สามารถดาวน์โหลดยูทิลิตี้ตัวนี้ได้ที่ : http://www.freewarefiles.com/JkDefrag-Portable_program_43698.html

8. InfraRecorder Portable

โปรแกรมเบิร์นแผ่นอย่าง Nero และ Alcholhol120% อาจจะไม่เหมาะกับโน้ตบุ๊กเครื่องเล็กๆ อย่าง Netbook เพราะใช้พื้นที่ติดตั้งโปรแกรมมาก อีกทั้งเวลาใช้งานทรัพยากรของเครื่องจะถูกโหลดการทำงานมากขึ้น สำหรับผู้ใช้ Netbook ที่มีเครื่อง DVD Writer แบบติดตั้งภายนอกอยู่ด้วย ผมแนะนำให้ใช้โปรแกรมที่ชื่อ InfraRecorder Protable แทนครับ ตัวโปรแกรมถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานอยู่บนแพลตฟอร์มแบบพอร์ตเทเบิลได้อย่างลงตัว ตั้งแต่พวกเครื่อง UMPC จนมาถึง Netbook คุณสมบัติของโปรแกรมนั้นเรียกได้ว่าเกินตัวครับ ไม่ว่าจะเป็นฟังก์ชันการใช้งานพื้นฐานทั่วไป การรองรับไฟล์ในฟอร์แมตต่างๆ ทั้งดาต้าทั่ว วีดิโอ/ออดิโอ (เซฟแทร็กออดิโอไปเป็นไฟล์ .wav, .wma, .ogg, .mp3 และ .iso) สนับสนุน DVD-Dual Layer นอกจากนี้หากต้องการ Rip MP3 คุณสามารถดาวน์โหลดปลั๊กอินเสริมลงไปได้ เท่าที่ดูจากคุณสมบัติต่างๆ ต้องยกนิ้วให้เลยครับ เป็นโปรแกรมเบิร์นแผ่นที่เล็กพริกขี้หนูจริงๆ

ดาวน์โหลดได้ที่ : http://www.download.com/InfraRecorder-Portable/3000-2646_4-10836498.html

9. Cornice Portable

โปรแกรมดูภาพสำหรับแพลตฟอร์มพอร์ตเทเบิลที่มีคุณสมบัติไม่แพ้โปรแกรมตัวใหญ่ๆ อย่าง ACDSee ด้วยขนาดไฟล์ติดตั้งทั้งหมดเพียง 6MB แต่อัดแน่นด้วยฟังก์ชันใช้งานที่เพียบพร้อม เช่น การจัดเรียงภาพในลักษณะ Thumbnail ที่ไม่ต้องรอโหลดภาพนานเหมือนกับโปรแกรมบางตัว ระบบซูมภาพเข้า-ออก ที่ไม่ทำให้เครื่อง Netbook ของคุณต้องโหลดนาน สามารถทำสไลด์ โชว์ จากภาพที่เก็บไว้ในเครื่องได้ทันที นอกจากนี้หากคุณมีไฟล์ภาพที่เก็บอยู่ในเครื่องเล่น ipod ที่เชื่อมต่อกับ Netbook แล้วละก็ คุณสามารถใช้โปรแกรมเข้าถึงไฟล์ภาพเพื่อเรียกขึ้นมาดูได้อีกด้วย สำหรับโปรแกรมดูภาพและจัดการภาพนี้ ถือเป็นหนึ่งในโปรแกรมสามัญประจำเครื่องคอมพ์แทบทุกเครื่อง ซึ่งเครื่อง Netbook ก็เช่นเดียวกัน หากคุณต้องการเปิดภาพขึ้นมาดูอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด ลองติดตั้ง Cornice Portable ลงไปใน Netbook ของคุณดูครับ

โดยสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีๆ จากเว็บไซต์ : http://cornice-portable.10001downloads.com/

10. ClamWin Portable

ปัญหาอย่างหนึ่งของผู้ใช้ Netbook คือ ไม่รู้ว่าจะเลือกใช้โปรแกรมแอนติไวรัสตัวไหนดี เพราะส่วนใหญ่ที่มีนั้นก็เป็นแอนติไวรัสที่รันอยุ่บนเครื่องพีซีและโน้ตบุ๊กทั่วไป อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ใช้งานมากมาย แน่นอนว่าเขมือบทรัพยากรของเครื่องมากด้วย หากติดตั้งโปรแกรมแอนติไวรัสพวกนี้ลงในเครื่อง Netbook ที่มีทรัพยากรจำกัดแล้วละก็ แอนติไวรัสจะทำให้เครื่องของคุณอืดไปเลย

แต่สำหรับ CalmWin Antivirus นั้นตรงกันข้ามครับ มันสามารถป้องกันไวรัสและสปายแวร์ต่างๆ ได้ดีพอตัวเลย มีความรวดเร็วในการทำงานสูง ตัวโปรแกรมนั้นจะได้รับการอัพเดตฐานข้อมูลไวรัสจากเว็บไซต์ผู้ผลิตทุกครั้งที่คุณเปิดเครื่องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หรือทุกครั้งที่มีไฟล์อัพเดตออกมาใหม่ เนื่องจากมันถูกออกแบบมาเพื่อระบบฮาร์ดแวร์ที่ค่อนข้างจำกัด การสแกนค้นหาไวรัสจึงต้องทำแบบแมนนวล นั่นคือผู้ใช้ต้องสร้างตารางเวลาสำหรับการสแกนไวรัสขึ้นมา โดยมันจะไม่มีระบบสแกนแบบเรียลไทม์มาให้ สำหรับผู้ที่ต้องกรนำไปติดตั้งบน Netbook

สามารถดาวน์โหลดได้ที่ : http://www.download.com/ClamWin-Portable/3000-2239_4-10703785.html

กลับสู่หน้าแรก ----->>>

10 โปรแกรมสามัญประจำ NetBook


เมื่อพูดถึงคอมพิวเตอร์พกพาที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องแลปทอปทั่วไป ณ วันนี้ คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับ NetBook หรือ Mini NoteBook นิยามใหม่ของคอมพิวเตอร์บนฝ่ามือ ซึ่งล่าสุดนั้นโน้ตบุ๊กจิ๋วเหล่านี้ก็ถูกเสริมกำลังด้วยชิปประมวลผล Intel Atom เพื่อให้มีศักยภาพในการรองรับงานต่างๆ ได้มากขึ้น


แต่ถึงกระนั้นก็ตาม แม้เหล่าสมองกลบนฝ่ามือจะมีชิปตัวใหม่มาคอยขับเคลื่อน แต่บรรดาโปรแกรมต่างๆ ที่ผู้ใช้นำมาติดตั้งลงในเครื่อง ล้วนเป็นโปรแกรมที่รันอยู่บนเครื่องพีซี หรือไม่ก็โน้ตบุ๊กทั่วไปแทบทั้งสิ้น ซึ่งส่งผลร้ายกับโน้ตบุ๊กจิ๋วพวกนี้อย่างมาก เพราะมันต้องแบบรับภาระหนักจากโปรแกรมเหล่านี้ และเพื่อให้ทุกท่านที่มี NetBook ได้สัมผัสกับความเร็วในการใช้งานที่เพิ่มขึ้น ผมมีโปรแกรมสำหรับโน้ตบุ๊กจิ๋วนี้มาฝากกัน 10 โปรแกรมครับ และที่สำคัญเป็นฟรีแวร์ครับ นั่นก็คือ สามารถใช้งานได้เต็มรูปแบบ ไม่ต้องเสียเงินแม้แต่แดงเดียว ถ้าไม่รีบหามาติดตั้งระวังจะเสียใจครับ อิอิ (*-*)/

1. Ubuntu Netbook Remix

สำหรับโปรแกรมแรกที่นำมาฝากกันก็คือ ระบบปฏิบัติการ Ubuntu for Netbook ครับ ถึงแม้ว่าผู้ผลิต Netbbok หลายๆ ยี่ห้อ จะติดตั้งระบบปฏิบัติการมาพร้อมเครื่องอย่าง Windows, Xandros, Linpus Linux, gOS และ SUSE ก็ตาม แต่เชื่อว่ามีผู้ใช้หลายคนเริ่มเบื่อหน้าตาโอเอสพวกนี้กันบ้างแล้ว และถ้าคุณเคยใช้ระบบปฏิบัติการที่ชื่อ Ubuntu บนเครื่องพีซีหรือโน้ตบุ๊กทั่วไปมาบ้าง คงยังจำความประทับใจในเรื่องความคล่องตัวและความเร็วของโอเอสตัวนี้ได้ ตอนนี้ บริษัท Canonical ได้จัดทำ Ubuntu เวอร์ชันพิเศษที่ชื่อว่า Ubuntu Netbook Remix

สำหรับเครื่อง Netbook OEM ขึ้นมา ซึ่งรองรับชิปประมวลผล Atom รวมถึงออปติไมซ์ให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ลงตัวกับเครื่อง Netbook อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนโหมดแสดงผลที่ละเอียดขึ้นสำหรับหน้าจอขนาด 10 นิ้ว การจัดวางโปรแกรมอรรถประโยชน์ต่างๆ บนหน้าเดสก์ทอปที่ดูเหมาะสมกับจอภาพขนาดเล็กได้อย่างลงตัว สำหรับ Ubuntu เวอร์ชันนี้เป็นซอฟต์แวร์ OEM สำหรับผู้ผลิต Netbook ที่สนใจ ไม่แจกจ่ายทั่วไป แต่ทว่าก็ไม่พ้นความสามารถของเซียนโอเพ่นซอร์สทั้งหลายที่ได้หาวิธีนำมาลงบนเครื่อง Netbook รุ่นต่างๆ ได้แล้ว





โดยคุณต้องไปดาวน์โหลด Ubuntu 8.04 (ดาวน์โหลดได้ที่ : http://www.ubuntu.com/getubuntu/download)

ส่วนรายละเอียดในการติดตั้ง Unbuntu Remix สามารถเข้าไปดูวิธีการได้ที่ http://www.ubuntuclub.com/node/846

2. OpenOffice 3.0

หากโปรแกรมชุดไมโครซอฟต์ออฟฟิศ เป็นอันดับหนึ่งบนระบบวินโดวส์ ฝั่งโอเพ่นซอร์สคงต้องยกให้ OpenOffice ด้วยเช่นกัน แต่ ณ วันนี้ โปรแกรม OpenOffice ที่เป็นเวอร์ชันบนวินโดวส์ก็มีความสามารถไม่แพ้กันเลย สำหรับผู้ใช้ Netbook ถ้าคุณหวังว่าจะลง Office XP หรือ Office 2007 บนเครื่อง Netbook โดยหวังว่ามันจะทำงานวิ่งฉิวเหมือนบนพีซีละก็ ขอบอกว่าไม่เป็นเช่นนั้นแน่ เพราะนอกจากจะกินพื้นที่การติดตั้งโปรแกรมมากแล้ว ยังใช้ทรัพยากรต่างๆ ของระบบมากพอตัว ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานของ Netbook ตอนนี้ ยังไม่อาจตอบสนองได้อย่างที่คุณต้องการ

แต่สำหรับโปรแกรม OpenOffice 3.0 ถูกออกแบบมาเพื่อระบบฮาร์ดแวร์ที่ไม่ต้องการสเปกสูงมากนัก ทำให้ผู้ใช้สามารถทำงานกับพวกสเปรดชีตและงานเอกสารต่างๆ ได้คล่องตัวกว่า OpenOffice 3.0 มีโปรแกรมย่อยที่ชื่อ Writer ทำงานเอกสารได้เหมือนกับ Words โปรแกรม Calc สำหรับงานเปรดชีตที่คล้ายคลึงกับ Excel ส่วนงานพรีเซนเตชันที่ไม่แพ้ PowerPoint ก็ต้องพึ่งโปรแกรม Impress และงานฐานข้อมูลต่างๆ ก็ต้องยกให้เป็นหน้าที่ของโปรแกรม Base ที่เป็นคู่แข่งของ Access เป็นสามโปรแกรมหลักๆ ที่เพียงพอสำหรับการใช้งานขั้นพื้นฐานบน Netbook อ้อ! เกือบลืมเรื่องสำคัญไปครับ คุณสามารถออปติไมซ์การทำงานของโปรแกรม OpenOffice ให้เหมาะกับทรัพยากรบนเครื่อง Netbook ได้







ส่วนวิธีการนั้นไปอ่านได้ที่เว็บไซต์ http://asuseeehacks.blogspot.com/2008/08/speeding-up-openoffice.html

สำหรับโปรแกรม OpenOffice 3.0 สามารถดาวนโหลดได้ที่ : http://www.softpedia.com/get/Office-tools/Office-suites/OpenOfficeorg-for-Windows.shtml

3. Foxit Reader 3.0

แฟนๆ Acrobat Reader ที่ต้องการอ่านไฟล์เอกสาร PDF บนเครื่อง Netbook อาจผิดหวังกับความเร็ว เมื่อต้องเปิดหน้าเอกสาร PDF ที่มีขนาดไฟล์ใหญ่ๆ ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากตัวโปรแกรมใช้ทรัพยากรของเครื่องไปมากพอตัว ทำให้แสดงอาการกระตุกให้เห็น ถึงแม้คุณจะลงเวอร์ชัน Lite แล้วก็ตาม แต่นั่นก็เป็น Lite สำหรับพีซีและโน้ตบุ๊กทั่วไป Foxit Reader 3.0 ทางเลือกใหม่ในการอ่านเอกสาร PDF บนโน้ตบุ๊กจิ๋ว โปรแกรมที่ขึ้นชื่อเรื่องความเร็วในการเปิดหน้าเอกสาร PDF ซึ่งมีขนาดโปรแกรมที่เล็กเพียง 3.7 เมกะไบต์ ไม่เปลืองพื้นที่การติดตั้ง ตัวโปรแกรมมีฟังก์ชันในการแปลงเอกสาร PDF ไปเป็น Text File อื่นๆ ด้วย และในเวอร์ชัน 3.0 นี้ ยังเพิ่มระบบความปลอดภัยของเอกสารลงไปด้วย ส่วนทูลอื่นๆ ในโปรแกรมก็ถือว่าไม่แพ้ Acrobat เข่นกัน เอาเป็นว่าใครที่ใช้ Nebook รีบไปดาวน์โหลดฟรีเวอร์ชันจากเว็บไซต์ http://www.foxitsoftware.com/pdf/rd_intro.php มาใช้งานกันได้เลยครับ ไม่แน่ว่าคุณอาจจะลืมโปรแกรมตัวเก่าไปเลย!!!




4. FireFox

หาก Google Chrome ที่เป็นเวอร์ชันสำหรับลินุกซ์และโอเพ่นซอร์สอื่นๆ ออกมาเมื่อไร โปรแกรมในหมวดเว็บบราวเซอร์สำหรับ Netbook คงไม่ได้มีแค่จิ้งจอกไฟที่ชื่อ FireFox แน่ เพราะด้วยคุณสมบัติหลายอย่างที่ดีพอ และเหมาะสมสำหรับโน้ตบุ๊กจิ๋ว จึงต้องเว้นที่ว่างไว้สำหรับ Google Chrome ด้วย แต่ชั่วโมงนี้คงต้องยกความดีให้กับ FireFox ไปก่อน เพราะไม่ว่าจะรันบนแพลตฟอร์มไหน เล็กหรือใหญ่ FireFox ก็ยังคงได้รับความไว้วางใจให้เป็นเว็บบราวเซอร์ตัวโปรดที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้และไว้วางใจ

สำหรับผู้ใช้ Netbook ก็เข่นเดียวกัน การติดตั้ง FireFox 3.0 ไม่ได้ทำให้เครื่องคุณช้าลงอย่างที่คิด ถึงแม้ในช่วงแรกผู้ใช้หลายคนจะพบปัญหาเรื่องการแสดงผลบนหน้าเว็บเพจ แต่หลังจากปรับแต่ง FireFox ให้เข้ากับทรัพยากรระบบที่มี เว็บบราวเซอร์ตัวนี้ก็วิ่งฉิวไม่แพ้บนพีซีเลยเช่นกัน สำหรับผู้ที่ต้องการจูนอัพ ปรับสปีด FireFox คุณสามารถดูรายละเอียดในรูปแบบคลิปวิดีโอได้ที่ Youtube.com โดยค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด “Speed Up FireFox” ส่วนโปรแกรม FireFox เวอร์ชันล่าสุด (3.1 Beta)




สามารถดาวน์โหลดได้ที่ : http://www.softpedia.com/get/Internet/Browsers/Mozilla-Firefox-Final.shtml


5. VLC Media Player

ถ้าคุณจะดูหนังบน Netbook ด้วยโปรแกรมตัวเดียวกับที่ใช้บนพีซีละก็ หากไม่ใช่โปรแกรมตัวเล็กๆ ที่กินทรัพยากรเครื่องน้อยๆ ละก็ ขอบอกเลยว่า Netbook ของคุณจะทำงานได้ช้าลงแน่ VLC Media Player เป็นโปรแกรมเล่นไฟล์มีเดีย ทั้งวิดีโอ ออดิโอ ที่มาจากฝั่งโอเพ่นซอร์ส ซึ่งการันตีในเรื่องการใช้ทรัพยากรของเครื่องน้อย และมีขนาดไฟล์ไม่ใหญ่

ถ้าคุณเคยใช้ Windows Media Classic ที่มากับชุด Codec ของโปรแกรม K-Lie ตัวนี้จะมีขนาดเล็กกว่า แถมคุณสมบัติก็ไม่ธรรมด้วย โดยรอบรองฟอร์แมตวิดีโอ/ ออดิโอ ได้เกือบทุกชนิด จุดเด่นของโปรแกรมตัวนี้นอกจากขนาดกะทัดรัดแล้ว ยังสนับสนุนการทำสตรีมมิ่งวิดีโอ/ออดิโอ ได้อีกด้วย ซึ่งรองรับโพรโตคอลสื่อสารอย่าง IPV6 ทำ Video LAN ขนาดย่อมๆ ในวงแลนของคุณได้เลย ที่สำคัญยังเป็นโอเพ่นซอร์สที่แจกจ่ายโค้ดโปรแกรมสำหรับผู้ที่ต้องการนำไปพัฒนาต่ออีกด้วย มีให้เลือกทั้งเวอร์ชันบนวินโดวส์ แมคฯ และลินุกซ์



สนใจเข้าไปดาวน์โหลดโปรแกรมและโค้ดได้ที่ http://www.videolan.org/vlc/

มีต่อหน้าถัดไป----> ----> ---->

*************************************************

Tuesday, July 28, 2009

เปลี่ยนรูปภาพให้เป็นรูปpoladroid

มาสนุกกับการ ถ่ายภาพโพลาลอยด์ ที่หน้าจอคอมพ์กันดีกว่า

เจอของเล่นสนุกๆเลยเอามาฝากกัน สำหรับใครที่อยากเปลี่ยนภาพถ่ายดิจิตอลในเครื่อง ให้กลายเป็นภาพแนวโพลาลอยด์สุดคลาสสิก คุณไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การใช้งานโฟโตช็อปหรือโปรแกรมปรับแต่งภาพอื่นๆให้ยุ่งยาก เพียงแค่คุณไปที่เว็บไซต์ http://www.poladroid.net/ จากนั้นก็ไปดาวน์โหลดตัวโปรแกรม poladroid 0.96ro คุณก็จะได้ไฟล์ติดตั้งที่ชื่อ poladroid installer.msi มาหนึ่งไฟล์ จากนั้นก็จัดการติดตั้งให้เรียบร้อย
หลังจากนั้นสิ่งที่คุณจะได้ก็คือ กล้องโพลาลอยด์หนึ่งตัวที่ลอยแปะอยู่บนเดสก์ทอปคล้ายวิดเก็จของวินโดวส์ วิธีการแปลงภาพถ่ายของคุณให้เป็นรูปโพลาลอยด์ก็แสนจะง่ายดาย เพียงแค่ลากไฟล์รูปที่ต้องการ ไปทิ้งไว้บนตัวกล้องแล้วรอสักครู่หนึ่ง (จะเร็วหรือช้าแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของไฟล์ภาพครับ) กล้องโพลาลอยด์ก็จะจัดการแปลงภาพถ่ายของคุณให้กลายเป็นภาพแนวโพลาลอยด์ และยังจำลองให้เหมือนกับการถ่ายภาพ จากกล้องโพลาลอยด์จริงๆ ด้วยการที่ภาพค่อยๆ แสดงชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ( หรืออยากให้ภาพมาเร็วๆก็ให้ใช้เมาส์ คลิกเขย่าภาพไปมา เหมือนกำลังสะบัดภาพของจริงก็ได้ ) ภาพที่เป็นโพลาลอยด์ก็เสร็จแล้ว จะถูกเซฟไว้ใน My Pictures โดยอัตโนมัติครับ

1. เริ่มแรกเมื่อเราดาวน์โหลดโปรแกรมมาแล้วติดตั้งเลยครับ(ทำตามขั้นตอน กดNextไปเรื่อยๆ)


2.เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วเราจะได้ไอคอน Poladroid 0.9.6r0
ให้เปิดโปรแกรมขขึ้นมาจะเจอตัวโปรแกรมแปลงภาพดังรูป



3.ให้คลิ๊กที่ปุ่มดังภาพเพื่อเลือกที่เก็บไฟล์รูป


4.เมื่อเลือกได้แล้วก็มาดูผลงานกันครับ

แอ่น......................แอ่น..................................แอ้นนนนนนนน



แค่อ่านคุณคงไม่เห็นภาพ ลองไปเล่นดูครับ แล้วจะติดใจเหมือนผม ลองดู

********************************************************************************

Friday, July 24, 2009

เทคนิคดักเก็บไฟล์เพลง จากเว็บ imeem.com

****************************************************************************
เทคนิคและวิธีการดาวน์โหลดวีดีโอหรือเพลงเจ๋งๆบนอินเตอร์เน็ตที่ไม่สามารถโหลดได้ตามปกติ


ที่บอกว่าทำได้ก็เพราะเป็นการดักจับแพ็กเกต(Packets)ที่วิ่งผ่านเข้าออกเครื่องคอมพิวเตอร์ จากนั้นก็นำมาเก็บไว้ในเครื่อง ให้คุณสามารถชมไฟล์ดังกล่าวในเวลาต่อมานั่นเองครับ และโปรมแกรมที่จะเป็นผู้ช่วยเรามีชื่อว่า...
NetworkActiv PIAFCTM เวอร์ชั่น 2.2.2 (ดาวน์โหลดที่นี่) ขนาดไฟล์เล็กมากเพียง 1.2 เมกะไบต์ ซึ่งในเวอร์ชันนี้ ก็มีคุณสมบัติการทำงาน มากมายกว่าเดิม

เริ่มต้นการใช้งาน

1. เปิดโปรแกรมขึ้นมา จะพบตัวเลือกในการใช้งาน ในโหมดต่างๆดังนี้

- Packet Mode แสดงในรูปแพ็กเกต

- File Mode แสดงในรูปของไฟล์
- Graphical Packets Mode แสดงแพ็กเกตที่รับ ส่งข้อมูลแบบกราฟิก

- Statistical Mode ดูสถิติการรับส่งข้อมูลต่างๆ
ให้เลือกเข้าไปที่ Flie Mode


2. เลือก Network Interface ที่ต้องการดูข้อมูล ปกติจะมีตัวเลือกเดียว ให้เลือกแล้วกด OK.




3.ในหัวข้อ Directory and File Settings สามารถคลิกที่ปุ่ม Choose Folder เพื่อเลือกตำแหน่งสำหรับเก็บ ไฟล์ที่การ

4. ดูเช็คบ็อกซ์ เครื่องหมายถูกในแต่ละส่วน ให้เป็นไปตามรูปที่แสดง



5. จากนั้นให้เข้าไปเปิดชมเว็บที่มีไฟล์ ที่เราต้องการในตัวอย่างเราสาธิตจากเว็บ imeem.com
ส่วนไฟล์รูปแบบอื่นสามารถประยุกต์ใช้ได้ครับ


6.เมื่อพร้อมแล้วให้รีปกลับไปที่หน้าจอของโปรแกรมก่อนที่เพลง(หรือคลิปวีดีโอ) จะเริ่มถูกโหลดมา
แล้วคลิกปุ่ม Start เพื่อเริ่มเก็บข้อมูลที่วิ่งเข้าเครื่อง ซึ่งมันจะเก็บไวทั้งหมด สังเกตุจากทางด้านล่างจะแสดงข้อมูลที่วิ่งเข้าเครื่อง จากนั้นเปิดเพลงไปจนจบครับ


7.เมื่อจบแล้วก็ปิดโปรแกรมได้เลยครับ โดยกดปุ่ม Stop

8.จากนั้นเปิดโฟลเดอร์ที่เราใช้เก็บไฟล์ โดยเราสามารถสั่งเปิดจากตัวโปรแกรมได้เลย เปิดแล้วลองไล่หาไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดดู เพราะนั่นจะเป็นไฟล์ที่เราต้องการ



9. อย่าลืมย้ายไฟล์ไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย และเปิดชมผ่านโปรมแกรมที่รองรับ เช่น Wimpy FLV Player




แปลงไฟล์ให้เป็น MP 3 เพื่อฟังได้ทุกที่
1.ด้วยโปรแกรม Fla Audio Extractor(ดาวน์โหลดที่นี้) จะสามารถแปลงเป็น MP3 ได้แค่คลิก Add เลือกไฟล์ที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Extrac


2.เลือกที่เก็บไฟล์เท่านี้ก็เสร็จครับ



==================By Getzaa===================